Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


 
บ้านบ้าน  PortalPortal  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
mahajamrong
ผู้ทรงเกียรติ
ผู้ทรงเกียรติ




ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา   ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา EmptyWed May 13, 2009 3:04 pm

ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา 1224830803_42199

ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ

วัดสะแก ม.๗ บ้านสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นามเดิม ท่าน มีชื่อว่า “ดู่” เกิด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งเป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำเนิดในตระกูล “หนูศรี” โยมบิดา - มารดา ชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง มีพี่สาวร่วมบิดามารดา ๒ คน ท่านเป็นคนที่ ๓ เป็นบุตรคนสุดท้อง อาชีพของโยมบิดามารดาเป็นชาวนา มีฐานะไม่ร่ำรวย เมื่อหมดหน้านา โยมทั้งสองจะช่วยกันทำขนมไข่มงคลออกเร่ขาย หารายได้อีกทางหนึ่ง

ขณะที่ท่านยังเป็นทารกน้อย ได้เกิดเหตุอัศจรรย์กับตัวท่านครั้งหนึ่ง กล่าวคือ เวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำเหนือได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มแถบอยุธยาแทบทั้งหมด ท้องนาและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมีแต่น้ำเจิ่งนองไปทั่ว บ้านของโยมหลวงปู่ดู่ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน วันนั้นโยมมารดาได้เอาเบาะซึ่งท่านนอนอยู่ไปวางตรงนอกชาน (ไม่มีระเบียงกั้น) ด้วยเห็นว่าเป็นที่โล่งโปร่ง ลมเย็นพัดโชยตลอดเวลา แล้วโยมมารดาก็ไปช่วยโยมบิดาทอดขนมไข่มงคลในครัว ขณะที่โยมทั้งสองกำลังง่วนอยู่กับการทอดขนม ก็ได้ยินเสียงสุนัขเลี้ยง เห่าขรมตรงนอกชาน แล้ววิ่งเข้ามาเห่าในครัวด้วยท่าทางลุกลน ก่อนจะวิ่งพล่านออกไปเห่าตรงนอกชานอีก โยมเห็นสุนัขแสดงกิริยาแปลก ๆ รีบออกจากห้องครัวมาดู มองไปที่เบาะลูกชาย ปรากฏว่า หายไปก็ตกใจสุดขีด วิ่งถลันไปที่สุดนอกชาน กวาดสายตามองหาไปรอบทิศ จึงได้เห็นเบาะหล่นจากชานเรือนลงไปในน้ำที่ท่วมเจิ่งด้านล่าง และลอยไปติดริมรั้ว กลางเบาะนั้นมีลูกชายตัวน้อย ๆ นอนร้องอ้อแอ้อยู่ โยมบิดารีบโดดโครมลงไปในน้ำ ลุยไปที่เบาะลูกชาย เมื่ออุ้มลูกขึ้นมา ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายอย่างใด จึงประคับประคองกลับขึ้นบ้าน ด้วยความรู้สึกอัศจรรย์ใจเหลือจะกล่าว โยมทั้งสองคิดหาสาเหตุที่ลูกตกไปในน้ำพร้อม ๆ กับเบาะก็นึกไม่ออกว่าลูกจะดิ้นจนเบาะเลื่อนไหลไปจนสุดนอกชาน แล้วตกลงไป ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะลูกยังไม่คว่ำเสียด้วยซ้ำ จะดิ้นรนตะกายอย่างไร ก็ไม่ทำให้เบาะขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ไปไกลถึงเพียงนั้น หรือจะว่ามีลมพัดอย่างแรงถึงกับหอบเอาเบาะลูกหล่นน้ำ ตนอยู่ในครัวใกล้ ๆ ทำไมจึงไม่รู้ว่ามีลมพัด และถ้ากระแสลมรุนแรงถึงขั้นหอบเอาเบาะกับลูกปลิวตกเรือนไปได้ หลังคาบ้านก็คงเปิดเปิงด้วยกระแสลมไปแล้ว และที่น่าแปลกน่าอัศจรรย์ก็คือ เมื่อเบาะมีเด็กทารกนอนอยู่ตกลงไปในน้ำ เหตุใดเบาะไม่พลิกคว่ำ หรือตัวเด็กเลื่อนไหลตกน้ำไป ซ้ำเบาะยังลอยน้ำได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว เบาะไม่ควรจะรับน้ำหนักเด็กไว้ได้ถึงเพียงนั้น โยมบิดามารดาจึงเชื่อมั่นว่า ลูกของตนมีบุญวาสนามากำเนิดแน่นอน ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะทารกน้อยผู้นี้เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ก็ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์จนชั่วชีวิต ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติสมณธรรม ชีวิตเยาว์วัยของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านต้องเผชิญกับการพลัดพรากที่รุนแรงร้ายกาจอย่างยิ่ง นั่นคือโยมมารดาเสียชีวิตไปก่อนขณะท่านยังเป็นทารก ครั้นอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาก็เสียชีวิตตามไปอีกคน ต้องอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้เลี้ยงดูเอาใจใส่ เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยเรียน ก็เข้าศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
ขึ้นไปข้างบน Go down
mahajamrong
ผู้ทรงเกียรติ
ผู้ทรงเกียรติ




ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา   ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา EmptyWed May 13, 2009 3:05 pm

อุปสมบท
อายุครบ ๒๑ ปี ท่านจึงได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงปู่กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ ภิกขุ” ในพรรษาแรก ๆ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม (สมัยนั้นเรียกวัดประดู่โรงธรรม) พระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม และหลวงปู่รอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ท่านได้รับการสอนจากหลวงปู่กลั่น ผู้เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และหลวงปู่เภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่กลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่านเอง นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานอีกหลายรูป ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสระบุรี ประมาณพรรษาที่สาม หลวงปู่ดู่จึงออกเดินธุดงค์เดี่ยว

หลวงปู่ดู่ท่านได้ถือศีลข้อวัตร คือฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 แต่ภายหลังคือประมาณปี พ.ศ.2525 เหล่าสานุศิษย์ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อเนื่องจากความชราภาพ ประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้นท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะสมแห่งอัตภาพ แต่เมื่อถามความเห็นจากท่านจึงทราบว่า ท่านต้องการโปรดญาติโยมจากที่ไกลๆ จะได้มีโอกาสทำบุญ



นิมิตธรรม
ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง “ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา



เมตตาธรรม
หลวงปู่ดู่ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้วยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงปู่มีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

นอกจากความอดทนอดกลั้นอย่างยิ่งแล้วหลวงพ่อดู่ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลายไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวรารามหรือที่เรียกกันว่า “ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ 1 พรรษา มานมัสการหลวงพ่อ โดยยกย่องหลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์ แต่เมื่อเจ้าคุณเสงี่ยมกราบหลวงปู่เสร็จ หลวงปู่ก็กราบตอบเรียกว่าต่างองค์ก็กราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกินในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบใหญ่ ทางด้านทิฐิมานะ ความถือตัว อวดดี ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสหลงออกเรียราด เที่ยวป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนดีตนเก่ง โดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป

หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจาร์ณการปฎิบัติธรรมสำนักไหนๆ ในเฃิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีนะเขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง หลวงปู่ดู่ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฎิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเราหมั่น(ปฎิบัติ)เข้าไว้ “ให้หมั่นดูจิตรักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”



หลวงปู่ทวด
ท่านสอนให้ศิษย์ท่านเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ



สร้างพระ
หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”
ขึ้นไปข้างบน Go down
mahajamrong
ผู้ทรงเกียรติ
ผู้ทรงเกียรติ




ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา   ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา EmptyWed May 13, 2009 3:05 pm

ปัจฉิมวาร
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมาสุขภาพหลวงปู่เริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงปู่ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงปู่ท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงปู่ยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

“ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงปู่ก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของ วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน ๖๕ พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔


อีกเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวเตือนศิษยานุศิษย์ ทั้งที่ใกล้ชิดและห่างไกล ตลอดจนสาธุชนญาติโยมทั้งหลาย ให้พึงสังวรอยู่เสมอก็คือ เรื่องควรงดเว้นกระทำกรรมชั่วโดยเด็ดขาด โดยท่านจะนำเอาพุทธพจน์ที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า” มาเป็นข้อเตือนสติแก่ทุกคน เพราะการกระทำกรรมใด ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมเลวก็ตาม จิตของผู้นั้นจะบันทึกเก็บงำข้อมูลเอาไว้โดยละเอียด เมื่อใดที่ถึงกาลมรณะ จิตตัวนี้จะเป็นตัวชี้นำไปสู่สุคติ หรือทุคติอย่างชัดเจน จิตตัวนี้สำคัญนัก แม้เพียงไปยึดติดหรือข้องอยู่กับกรรมเพียงน้อยนิด ขณะใกล้จะสิ้นใจตาย ก็ยังสามารถเบี่ยงเบนจุดหมายปลายทางที่จะไปเกิดได้



: เรียบเรียงจากหนังสือ ไตรรัตน์ และ หนังสือกายสิทธ์
ขึ้นไปข้างบน Go down
baimai
ผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบ




ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา   ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา EmptyThu May 14, 2009 9:00 pm



ขอบคุณท่านมหาจำรองมากค่ะ ปกติไม่ค่อยเข้าวัดค่ะ ได้มาอ่านแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน

ขอบคุณค่ะ
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://baimai.darkbb.com
 
ประวัติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» เหรียญยันต์ดวงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก “ดวงเหนือดวง พลังเหนือพลัง”

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: หมวดทั่วไป :: ห้อง ธรรมะนอกวัด-
ไปที่: